รูปแบบการปรับตัวเชิงบริหารของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (Management Adaptation Model of Small and Medium-Sized Hotel Business During the COVID-19 Pandemic: A Case Study in Muang District, Chiang Mai Province)

Thai Abstract:บทความนี้มุ่งที่จะพัฒนารูปแบบการปรับตัวเชิงบริหารของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการปรับตัวเชิงบริหารของธุรกิจโรงแรมที่เหมาะสมกับบริบทของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ปรับลดพนักงาน ลดวันเวลาในการทำงาน ด้านงบประมาณ ปรับโครงสร้างรายได้ โดยจัดหากระแสเงินสดเข้ามาหมุนในกิจการทดแทนรายได้จากห้องพัก ด้านการบริหารงานทั่วไป ปรับเปลี่ยนวิธีการทำการตลาดดิจิทัลและเน้นคนไทยมากขึ้น ด้านวัสดุอุปกรณ์ การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การป้องกันเชื้ออย่างเพียงพอ ด้านคุณธรรม การพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านการให้บริการประชาชน การบริการที่สะดวกสบายถูกสุขอนามัย ด้านข้อมูล การอัพเดทข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับลูกค้า ด้านวิธีการ การตั้งเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน ด้านเวลา มีแผนปฏิบัติการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ด้านการประสานงาน การปรับโครงสร้างการสื่อสารภายในอย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการวัดผล การประเมินผลในทุกๆ วัน ทุกสัปดาห์ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์.

English Abstract:This paper aimed to develop a management adaptation model of small and medium-sized hotel businesses under the critical conditions of the COVID-19 pandemic. The research results showed that the management adaptation model suitable for hotel business in the context of Muang District, Chiang Mai province, are human resources, staff reduction, reduction of working days, budget, restructuring of income, by providing cash flow to rotate in the business instead of income from room sales. In terms of general administration, change the way digital marketing is done and focus more on Thai people. In terms of materials, procurement of adequate anti-infective materials. In terms of moral aspects, interdependence and in terms of serving the public, comfortable, hygienic service. In terms of information, regular updates of information benefit the customers. In terms of methods and setting clear work goals. In terms of time, have an action plan that suits the situation. In terms of co-ordination, restructure effective internal communications and in terms of evaluation, daily and weekly evaluation to keep up with the situation.

Medienart:

E-Book

Erscheinungsjahr:

[2023]

Erschienen:

S.l.: SSRN ; 2023

Sprache:

tha

Beteiligte Personen:

Qun, Liao [VerfasserIn]
Leelapattana, Winitra [VerfasserIn]
Trakansiriwanich, Keerati [VerfasserIn]
Waiapha, Yutthakarn [VerfasserIn]
Sitthikun, Suthira [VerfasserIn]

Links:

ssrn.com [kostenfrei]
doi.org [kostenfrei]

Themen:

Adaptation Model

Anmerkungen:

In: Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, Vol. 11, No. 2

Nach Informationen von SSRN wurde die ursprüngliche Fassung des Dokuments July 1, 2022 erstellt

Umfang:

1 Online-Ressource (10 p)

doi:

10.2139/ssrn.4535761

funding:

Förderinstitution / Projekttitel:

PPN (Katalog-ID):

1859960960